เมนู

พระนามว่า ภควา เพราะหมายความว่า ทรงคายภคธรรม
พระนามว่า ภควา เพราะหมายความว่า ทรงคายภาคธรรม.
พระชินเจ้าทรงพระนามว่า ภควา
เพราะหมายความว่า ทรงมีภาคธรรม 1
ทรงอบรมพุทธกรธรรม 1 ทรงเสพภาค-
ธรรม 1 ทรงเสพภคธรรม 1 ทรงมีคน
ภักดี 1 ทรงคายภคธรรม 1 ทรงคายภาคธรรม 1.

ในความหมายเหล่านั้น พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้

1. ทรงมีภาคธรรม


พระพุทธเจ้า

ทรงพระนามว่า ภควา เพราะหมายความว่า ทรง
มีภาคธรรม เป็นอย่างไร ? คือ กองธรรม ได้แก่ ส่วนแห่งคุณมีศีลเป็นต้น
ที่วิเศษยิ่ง ไม่สาธารณ์แก่บุคคลอื่นมีอยู่ คือ หาได้เฉพาะแก่พระตถาคตเจ้า
จริงอย่างนั้น พระตถาคตเจ้านั้น ทรงมี คือ ทรงได้ภาคแห่งคุณ ได้แก่ส่วน
แห่งคุณ อันเป็นนิรัติสัย (ไม่มีส่วนแห่งคุณอื่นที่ยิ่งกว่า) ไม่จำกัดประเภท
ไม่มีที่สุด ไม่สาธารณ์แก่บุคคลอื่น มีอาทิอย่างนี้ คือ ศีล สมาธิ
ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ หิริ โอตตัปปะ ศรัทธา วิริยะ สติ
สัมปชัญญะ สีลวิสุทธิ จิตวิสุทธิ ทิฏฐิวิสุทธิ สมถะ วิปัสสนา กุศลมูล 3
สุจริต 3 สัมมาวิตก 3 อนวัชชสัญญา 3 ธาตุ 3 สติปัฎฐาน 4
สัมมัปปธาน 4 อิทธิบาท 8 อริยมรรค อริยผล 4 ปฎิสัมภิทา 4
ญาณกำหนดรู้กำเนิด 4 อริยวงศ์ 4 เวสารัชชญาณ 4 องค์ของภิกษุผู้
บำเพ็ญเพียร 5 สัมมาสมาธิมีองค์ 5 สัมมาสมาธิมีญาณ 5 อินทรีย์ 5
พละ 5 นิสสารณียธาตุ 5 วิมุตตายตนญาณ (ญาณเป็นบ่อเกิดแห่งวิมุตติ) 5

วิมุตติปริปาจนียปัญญา (ปัญญาเป็นเครื่องบ่มวิมุตติ) 5 อนุสติฐาน
(ที่ตั้งแห่งอนุสติ ) 6 คารวะ 6 นิสสารณียธาตุ 6 สัตตวิหารธรรม 6
อนุตริยะ 6 นิพเพธภาคิยสัญญา 6 อภิญญา 6 อสาธารณญาณ 6
อปริหานิยธรรม 7 อริยทรัพย์ 7 โพชฌงค์ 7 สัปปุริสธรรม 7
นิชชรวัตถุ 7 สัญญา 7 เทศนาว่าด้วยทักขิไณยบุคคล 7 เทศนาว่าด้วย
พลธรรมของพระขีณาสพ 7 เทศนาว่าด้วยหตุให้ได้ปัญญา 8 สัมมัตต-
ธรรม 8 การล่วงพ้นโลกธรรม 8 อารัมภวัตถุ 8 อักขณเทศนา (เทศนา-
ว่าด้วยขณะที่ไม่สามารถประพฤติพรมจรรย์ได้) 8 มหาบุรุษวิตก 8 เทศนา
ว่าด้วยอภิภายตนะ 8 วิโมกข์ 8 ธรรมที่มีโยนิโสมนสิการเป็นมูล 9 องค์
ของภิกษุผู้บำเพ็ญเพียรเพื่อความบริสุทธิ์ 9 เทศนาว่าด้วยสัตตาวาส 9 อุบาย
กำจัดอาฆาตวัตถุ สัญญา 9 นานัตตธรรม 9 อนุปุพพวิหารธรรม 9
นาถกรณธรรม 10 กสิณายตนะ (บ่อเกิดกสิณ) 10 กุศลกรรมบถ 10
สัมมัตตธรรม 10 อริยวาสธรรม 10 อเสกขธรรม 10 ตถาคตพละ 10
อานิสงส์เมตตา 11 อาการธรรมจักร 12 ธุดงค์คุณ 13 พุทธญาณ 10
วิมุตติปริปาจนียธรรม 15 อานาปานสติ 16 อตปนียธรรม 16 พุทธ-
ธรรม 18 ปัจจเวกขณญาณ 19 ญาณวัตถุ 44 อุทัยพพยญาณ 50
กุศลธรรมมากกว่า 50 ญาณวัตถุ 77 สมาบัติสองล้านสี่แสนโกฎิ มหาวชิร-
ญาณ 5 เทศนานัยว่าด้วยการพิจารณาปัจจัยในอนันตนยสมันตปัฏฐานปกรณ์
และญาณแสดงถึงอาสยะเป็นต้น ของสัตว์ทั้งหลายไม่มีที่สุดในโลกธาตุอันไม่มี
ที่สุด. เพราะเหตุนั้น เมื่อควรจะขนานพระนามว่า ภาควา เพราะเหตุที่ทรง
มีภาคแห่งคุณ ตามที่ได้กล่าวจำแนกไว้แล้ว ท่านก็ขนานพระนามว่า ภควา
โดยรัสสะ อา อักษรเป็น อะ อักษร. พระพุทธเจ้า ทรงพระนามว่า
ภควา เพราะหมายความว่า ทรงมีภาคธรรม ดังพรรณนามานี้ก่อน.

เพราะเหตุที่ภาคแห่งคุณทั้งหมด มี
ศีลเป็นต้น มีอยู่ในพระสุคตอย่างครบถ้วน
ฉะนั้น บัณฑิต จึงขนานพระนามพระองค์
ว่า ภควา.


2. ทรงอบรมพุทธกรธรรม


พระพุทธเจ้า

ทรงพระนามว่า ภควา เพราะหมายความว่า ทรง
อบรมพุทธกรธรรมเป็นอย่างไร คือ พุทธกรธรรม (ธรรมที่ทำให้เป็น-
พระพุทธเจ้า) เหล่านั้นใดมีอาทิอย่างนี้ คือ บารมี 10 ได้แก่ ทานบารมี
ศีลบารมี เนกขัมมบารมี ปัญญาบารมี วิริยบารมี ขันติบารมี สัจจบารมี
อธิษฐานบารมี เมตตาบารมี อุเบกขาบารมี อุปบารมี 10 และปรมัตถบารมี 10
รวมเป็นบารมี 30 ถ้วน สังคหวัตถุ 4 มีทานเป็นต้น อธิษฐานธรรม 4
มหาบริจาค 5 คือ การบริจาคร่างกาย การบริจาคนัยนา (ดวงตา) การบริจาค
ทรัพย์ การสละราชสมบัติ การบริจาคบุตรและภรรยา บุพประโยค บุพจริยา
การกล่าวธรรม พระจริยาที่เป็นประโยชน์แก่โลก พระจริยาที่เป็นประโยชน์
แก่พระญาติ พระจริยาที่เป็นประโยชน์ในฐานะเป็นพระพุทธเจ้า ที่พระมหา-
สัตว์ทั้งหลายผู้ถึงความขวนขวาย เพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ชาวโลกทั้งมวล
ผู้ประมวลธรรม 8 ประการ มีความเป็นมนุษย์เป็นต้นไว้อย่างพร้อมมูลแล้ว
กระทำมหาภินิหารไว้ เพื่อบรรลุสัมมาสัมโพธิญาณ ควรบำเพ็ญให้บริบูรณ์
หรือเมื่อว่าโดยย่อ คือ พุทธกรธรรมที่เป็นเหตุเพิ่มบุญ เพิ่มญาณ (ปัญญา)
พุทธกรธรรมเหล่านั้นที่พระองค์ทรงบำเพ็ญ คือ สั่งสมมา โดยเคารพอย่าง
ครบถ้วนไม่ขาดสาย สิ้นเวลา 4 อสงไขย กำไรแสนกัป นับแต่มหา-
ภินิหาร (ที่ได้รับจากพระพุทธที่ปังกร) มา โดยที่พุทธกรธรรมเหล่านั้นมิ